Science Math Enrichment Program,K.B.
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Science Math Enrichment Program,K.B.

Science Math Enrichment Program in K.B. school in YALA, Thailand
 
เธšเน‰เธฒเธ™เธšเน‰เธฒเธ™  PortalliPortalli  เธ„เน‰เธ™เธซเธฒเธ„เน‰เธ™เธซเธฒ  Latest imagesLatest images  เธชเธกเธฑเธ„เธฃเธชเธกเธฒเธŠเธดเธ(Register)เธชเธกเธฑเธ„เธฃเธชเธกเธฒเธŠเธดเธ(Register)  เน€เธ‚เน‰เธฒเธชเธนเนˆเธฃเธฐเธšเธš(Log in)  

 

 99วิธี สวัสดีแอดมิชชั่น ตอนที่ 1-4

Go down 
เธœเธนเน‰เธ•เธฑเน‰เธ‡เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก
Admin
Admin
Admin
Admin


เธˆเธณเธ™เธงเธ™เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก : 182
อายุ : 33
Registration date : 10/06/2007

99วิธี สวัสดีแอดมิชชั่น ตอนที่ 1-4 Empty
เธ•เธฑเน‰เธ‡เธซเธฑเธงเธ‚เน‰เธญเน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡: 99วิธี สวัสดีแอดมิชชั่น ตอนที่ 1-4   99วิธี สวัสดีแอดมิชชั่น ตอนที่ 1-4 EmptyFri Jun 15, 2007 9:49 pm

ตอนที่ 1 : แนะนำบทความ

บทความ 99วิธี สวัสดีแอดมิชชั่น นี้ เป็นบทความที่รวมเทคนิค กลยุทธ์ คำแนะนำและวิชามารที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการเตรียมตัวสอบและทำข้อสอบเอนทรานซ์ โดยเรียบเรียงขึ้นจากหนังสือ109เทคนิคพิชิตเอนทรานซ์และนำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เหมาะกับระบบแอดมิชชั่นในปัจจุบัน

เทคนิคต่าง ๆ ที่นำเสนอนี้ ถือเป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณของคุณในการเลือกและปรับใช้เทคนิคต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับตัวคุณเอง เพราะแต่ละคนจะมีความเหมาะสมในแต่ละเทคนิคที่แตกต่างกัน


ทีนี้ก็ถึงเวลาที่คุณจะได้กอบโกยเทคนิคแล้วนะครับ ว่าแต่คุณพร้อมรึยังล่ะ หวังว่าเทคนิคเหล่านี้คงจะมีประโยชน์กับคุณไม่มากก็น้อย


ตอนที่ 2 : ความพร้อม : พื้นฐานความสำเร็จ

1. การเตรียมความพร้อมนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากนะ เคยได้ยินไหม เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

2. ข้อสอบเอนท์เนี่ย เป็นข้อสอบที่มาตรฐานนะ สามารถแยกเด็กเก่งออกจากเด็กอ่อนได้ ต้องรู้จริงถึงจะทำคะแนนได้ดี โจทย์ทุกข้อ ช้อยส์ทุกตัวเขาวางไว้อย่างดีหมดเลย

3. อย่าลืมว่าทุกคะแนนมีค่านะ 1 คะแนนเนี่ย มันทำให้เราแซงหน้าคนอื่นเป็นพัน ๆ คน เพราะในแต่ละปีสอบทั้งประเทศเป็นแสนคน เคยเจอมะ ขาดไปอีก 0.25 คะแนนถึงจะติดอ่ะ เรื่องจริงนะ เจอมาแล้ว

4. อย่าคิดว่ายังมีเวลาอีกหลายเดือนถึงจะสอบเอนท์ ตอนเปิดเทอมไหนจะเรียนที่โรงเรียน เรียนพิเศษ สอบกลางภาค สอบปลายภาค ไหนจะทำกิจกรรมที่โรงเรียนอีก ไม่มีเวลาให้คุณได้อ่านอะไรมากนักหรอก คุณควรจะเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ นะ โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมกำลังจะขึ้น ม.6 นี้แหละ เป็นช่วงที่มีเวลาว่างพอสมควรเลยทีเดียว

5. ถ้าไม่รู้ว่าควรจะเริ่มจากตรงไหนดี ก็ขอแนะนำให้เริ่มจากวิชาที่ชอบ หรือบทที่ถนัดก่อนก็ได้ เป็นการเรียกกำลังใจไง

6. ช่วงเวลาในการอ่านหนังสือที่ดีที่สุดของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะ บางคนก็ชอบอ่านตอนเช้า เพราะสมองกำลังปลอดโปร่ง บางคนก็ชอบอ่านตอนกลางคืน เพราะมันเงียบดี คุณก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมของเวลาในการอ่านแต่ละวิชาให้ดี ๆ เช่น ถ้าคุณรู้สึกว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการอ่านหนังสือของคุณคือตอนเช้า คุณก็อาจจะเลือกอ่านวิชาที่ไม่ถนัดในตอนเช้าก็ได้ อันนี้ก็แล้วแต่จะวางแผน

7. ตอนอ่านหนังสือ อย่าอ่านแค่พอรู้แล้วจะคิดว่าทำได้ เราต้องรู้จริงด้วยนะ อ่านให้ละเอียด เก็บให้หมดทุกอย่าง

8. สมองพร้อม ใจพร้อม กายก็ต้องพร้อมด้วย ถ้าเราหักโหมเกินไปจนไม่สบาย หรือง่วงนอนจัด ๆ ก็จะอ่านหนังสือไม่รู้เรื่องนะ ถ้าหากรู้สึกว่าตัวเองไม่ไหวแล้วก็ลองพักสักช่วงหนึ่ง แล้วค่อยลุยต่อ ทีนี้ล่ะ จะฉลุยเลย อย่าลืมใส่ใจกับสุขภาพตัวเองด้วย ถ้าเราเตรียมตัวมาแต่เนิ่น ๆ ก็ไม่ต้องมาหักโหมตอนใกล้สอบหรอก

9. รู้ว่าตอนเตรียมตัวต้องอ่านหนังสือเยอะ เรียนพิเศษเยอะ ทั้งท้อ ทั้งเหนื่อย แต่ก็ต้องสู้นะ จะบอกให้ว่า เมื่อใดที่เราเอนท์ติด ความเหนื่อยทั้งหมดก็จะหายไป เปลี่ยนเป็นความดีใจแทน สู้ ๆ นะ กำลังใจต้องดีตลอดรอดฝั่ง

10. เมื่อใกล้วันสอบ ความพร้อมเราต้องสูงปรี๊ดเลยนะ ต้องแม่นเนื้อหา คล่องสูตร พอสอบเสร็จแล้วจะลืมความรู้ก็ช่างมันเหอะ เหะ ๆ

11. คนที่จะเอนท์ติดไม่จำเป็นต้องเก่งเสมอไปหรอก ขยัน ๆ เตรียมตัวมาดี ๆ ก็เอนท์ติดได้ ดังนั้นต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่สุดนะ

12. อย่าลืมนะว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราเลือกคณะไม่ได้ขึ้นอยู่กับความฝัน(อยากจะเข้า) แต่ขึ้นอยู่กับความจริง(คะแนน)ต่างหาก ถ้าเตรียมตัวไม่พร้อม จะมาเสียใจทีหลังไม่ได้นะ

13. ทีนี้คงจะเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมแล้วนะ จะย้ำสุดสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้อีกทีก็คือ เตรียมแต่เนิ่น ๆ และต่อเนื่อง

14. คนที่จะเอนท์ติด ไม่ใช่ว่าต้องฉลาดอย่างเดียว แต่ต้องเฉลียวด้วยนะ คือ ต้องวางแผน รู้จักจัดการตนเองเป็น ถ้าแต่ละวิชามีน้ำหนักคะแนนเท่ากัน ก็ควรจะระลึกไว้ว่า ความถนัดของเราในแต่ละวิชานั้นต่างกัน นั้นหมายความว่า วิชาที่เราถนัดควรจะทำคะแนนได้ดีกว่าที่เราไม่ถนัดแน่ ๆ ต้องรู้จักวางกลยุทธ์ว่าจะเลือกทุ่มวิชาไหนเป็นพิเศษ หรือวิชาไหนสามารถทำคะแนนได้ง่ายกว่าวิชาอื่นในขณะที่สัดส่วนคะแนนก็เท่ากัน ถ้าแต่ละวิชามีน้ำหนักคะแนนที่ไม่เท่ากัน การเลือกทุ่มในวิชาที่มีน้ำหนักคะแนนมากกว่าวิชาอื่น จะทำให้คะแนนโดยภาพรวมสูงและคุ้มค่ากว่าไหม? อันนี้ก็เป็นการวางแผนของแต่ละบุคคล แล้วแต่จะบริหารจัดการ สัดส่วนการออกข้อสอบของแต่ละบทในแต่ละวิชาก็สามารถวางแผนได้ในลักษณะเดียวกัน

15. คนที่จะเอนท์ติด ไม่จำเป็นต้องได้คะแนนดีทุกวิชาหรอก แต่ควรจะได้คะแนนดีในบางวิชาโดยเฉพาะวิชาที่เราถนัด (แต่ถ้าคณะที่อยากจะเข้าคะแนนมันสูงเอามาก ๆ ก็ควรจะทำให้ได้ดีในหลาย ๆ วิชานะ) วิชาที่ได้คะแนนดี ๆ สูง ๆ จะได้ช่วยดึงวิชาที่ได้คะแนนน้อยขึ้นมา ส่วนวิชาที่ไม่ถนัดถึงจะทำได้ไม่ดี แต่ก็ไม่ควรจะทำได้น้อยจนเป็นตัวถ่วงวิชาอื่นนะ เอาเป็นว่า พอไปรอดก็ถือว่าดีแล้ว

16. รู้จักหาข้อมูลทั้งระเบียบการคัดเลือกและข้อมูลคณะ/มหาวิทยาลัยที่ต้องการจะเข้าศึกษา เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจและจะได้ไม่พลาดโอกาสสำคัญในการสอบตรงต่าง ๆ คุณสามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้จากเอกสารของทางราชการ ระเบียบการคัดเลือก หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ทางการศึกษา อาจารย์ รุ่นพี่ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเพื่อน ๆ ด้วยกันเอง


ตอนที่ 3 : เทคนิคเฉพาะวิชา

17. ถ้าหากคุณอ่านหนังสือจนเข้าใจเป็นอย่างดี หรือทำโจทย์จนรู้แนวข้อสอบ คุณก็จะค้นพบเทคนิคด้วยตัวเองอีกเยอะเลยแหละ ต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นนะ เทคนิคเหล่านี้เจ้าของเทคนิคก็ต่างค้นพบด้วยตัวเองทั้งนั้นแหละ ดูเอาไว้เผื่อเป็นไอเดียในการสร้างเทคนิคให้กับตัวเอง และเทคนิคนั้น ๆ ก็จะมีความเหมาะสมกับคุณมากด้วย

18. ตอนที่ซ้อมทำข้อสอบเก่าภาษาไทย พวกข้อสอบที่ต้องวิเคราะห์ เช่น ใจความสำคัญของข้อความนี้, ผู้เขียนต้องการสื่อถึงอะไร, น้ำเสียงของบทความ เป็นต้น ควรจะฝึกโดยการปิดช้อยส์ก่อนนะ แล้วนึกคำตอบออกมาให้ได้ แล้วค่อยเปิดช้อยส์ดู ถ้าเราเจอช้อยส์ที่ใกล้เคียงกับที่เราคิด ก็นั้นแหละน่าจะเป็นคำตอบที่ถูก แต่ถ้าเราอ่านโจทย์แล้วดูช้อยส์เลยก็จะถูกช้อยส์นำความคิดไป คือ โดนหลอกโดยไม่รู้ตัว ประมาณว่าข้อนี้ก็น่าจะใช้ ข้อนั้นก็น่าจะถูก ตอนออกจากห้องสอบก็คิดว่าทำได้ แต่จริง ๆ แล้วโดนช้อยส์หลอกโดยไม่รู้ตัว ตอนทำข้อสอบภาษาไทยจริง ๆ ข้อสอบส่วนที่ต้องวิเคราะห์ก็ให้คิดคำตอบก่อนเช่นกัน แล้วค่อยดูช้อยส์ จะได้ไม่โดนช้อยส์นำความคิด

19. หัดฟังเพลงหรือดูหนังฝรั่งไว้บ้างก็ดีนะ เพราะเราจะได้สำนวนหรือวัฒนธรรมทางภาษามาใช้ทำข้อสอบสวนที่เป็นภาษาอังกฤษในชีวิตประจันได้ดีเลยทีเดียว

ภาษาอังกฤษ มีนา47 A police officer is chasing a robber and wants into stops. He shouts “..............”.
ถ้าใครเคยดูหนังฝรั่งบ่อย ๆ จะรู้เลยว่า ควรจะตอบ Freeze เวลาตำรวจฝรั่งวิ่งไล่จับคนร้ายทีไรก็จะพูดว่า Freeze! มีความหมายว่า “หยุดนะ อย่าขยับ” เหมือนกับตำรวจไทยนั้นแหละ

20. ในวิชาคำนวณ ต้องเข้าใจconceptในแต่ละเรื่องให้ดี ๆ วิชาคำนวณขืนจำสูตรอย่างเดียวแต่ไม่เข้าใจอะไรเลยก็ทำข้อสอบไม่ได้หรอก ต้องใช้ความเข้าใจเป็นหลัก

21. ถ้าหากคิดว่าสูตรมันเยอะจนขี้เกียจจะจำละก็ ลองเทคนิคการจำสูตรให้ติดมือนี้ดูนะ เราต้องจำสูตร แต่ให้จำด้วยความเข้าใจ(เข้าใจที่มาของสูตร หรือวิธีการใช้สูตร) ฝึกทำโจทย์เยอะ ๆ เราก็จะเปลี่ยนจากความจำกลายเป็นความเคยชิน ถ้าได้เขียนสูตรอยู่บ่อย ๆ เราก็จะไม่รู้สึกว่าเราจำสูตร แต่จะรู้สึกว่าคุ้นเคย หรือจำจนติดมือนั้นเอง วิชาคำนวณทุกวิชาสามารถใช้เทคนิคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนะ

22. สูตรบางสูตรมันก็มีที่มา ถ้าหากเราเข้าใจที่มาของแต่ละสูตรดี มันก็ช่วยให้เราจำสูตรนั้นได้แม่นยำ หรือช่วยให้เราพลิกแพลงสูตรเพื่อทำข้อสอบบางข้อได้ด้วย

23. เรื่องสมการlog หรือเรื่องตรีโกณมิติก็ตาม สูตรมันเยอะก็จริง ในช่วงแรกเราอาจจะจำเป็นต้องจำสูตรเขาหน่อย แต่ถ้าหากเราทำโจทย์เยอะ ๆ ทำโจทย์บ่อย ๆ ตัวเราเองก็จะเปลี่ยนจากความจำเป็นความเคยชินไปโดยปริยาย เมื่อเราทำโจทย์จนคล่อง เราก็จะรู้สึกว่าเหมือนไม่ต้องจำสูตรเลย แค่เห็นโจทย์ก็ทำได้ เพราะมันกลายเป็นความเคยชินไปแล้วยังไงล่ะ

24. เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ โจทย์มันจะหลากหลายแนวมาก ๆ เลย ไม่ค่อยตายตัว คือแนวโจทย์มันจะดิ้นได้อยู่เรื่อย ๆ ต้องหัดทำโจทย์ให้เยอะ ๆ นะ ถ้าหากว่ามีสถาบันกวดวิชาใด หรือหนังสือคู่มือเล่มใดที่เขาแบ่งประเภทโจทย์ของเรื่องนี้ไว้ เช่น แบ่งเป็นกรณีการจัดของในลักษณะแถวหน้ากระดาน, กรณีการจัดที่นั่งเป็นวงกลม เป็นต้น ก็จะดีมาก ๆ เลยแหละ เพราะเราจะได้ไม่สับสน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ อย่าลืมทำโจทย์เรื่องนี้ให้เยอะ ๆ ละกัน เพื่อที่จะกอบโกยประสบการณ์ของโจทย์เรื่องนี้ให้มากที่สุด ไปเจอโจทย์แบบไหนในข้อสอบก็เสร็จเราหมด

25. นอกจากนี้ เมื่อเราคล่องเรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่แล้ว เราก็จะพลอยคล่องเรื่องความน่าจะเป็นไปด้วย เพราะมันเป็นบทที่ต่อเนื่องกัน และการทำข้อสอบเรื่องความน่าจะเป็นก็ต้องอาศัยความรู้จากเรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่เยอะเหมือนกัน เท่ากับว่า ยิงกระสุนนัดเดียว ได้นกสองตัว

26. ตอนซ้อมทำโจทย์เก่าวิชาคำนวณ ฝึกปิดช้อยส์หรือฝึกจากอัตนัยก็ดีนะ จะได้ฝึกคิดตัวเลขให้แม่น ๆ เพื่อจะได้ตอบข้อสอบอัตนัยได้แม่น ๆ ถ้าข้อสอบปรนัยคิดแล้วไม่เจอช้อยส์ก็ยังพอรู้ว่าคิดผิด แต่ถ้าเป็นข้อสอบอัตนัยคิดเลขออกมาแล้ว ไม่มีทางรู้เลยนะว่าจะถูกหรือผิด ถ้าไม่มั่นใจจริง ๆ

27. สำหรับวิชาฟิสิกส์ ต้องใช้ความเข้าใจเยอะมาก ๆ อย่าคิดว่าจำสูตรอย่างเดียวจะทำข้อสอบได้เสมอไป มันไม่ทุกข้อหรอก

28. เมื่อจำสูตรได้ ควรจะรู้ด้วยนะว่าตัวแปรแต่ละตัวคืออะไร เช่น V ในบางสูตรก็คือความเร็ว ในบางสูตรก็คือความต่างศักย์ไฟฟ้า, P ในบางสูตรก็คือโมเมนตัม ในบางสูตรก็คือกำลัง

29. สูตรฟิสิกส์มันเยอะก็จริง แต่ถ้าหากเราหาวิธีจำดี ๆ มันก็จะจำได้ง่ายและแม่นนะ ลองดูตัวอย่างละกัน แล้วเดียวไปหาวิธีจำสูตรอื่น ๆ เอาเองนะ

สูตรแรงดึงดูดระหว่างดวงดาว ถ้าจำเป็น F = GMm / R^2 หรือ แกรมมี่ / อาร์เอส (R Square) ก็จะจำได้ง่ายและนานกว่าใช่เปล่า

30. ทฤษฎีบางอย่างอาจจะจำเยอะซะหน่อยหรือสับสนได้ง่าย ก็ลองหาวิธีจำดี ๆ ขึ้นมาสิ ดูตัวอย่างแล้วลองไปหาวิธีจำทฤษฎีอื่นเอาเองล่ะกัน

ย่านความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ต้องจำเยอะมาก ๆ เลย อาจจะจำเป็น G-XU-LI-MR (อ่านว่า จี-ซู-ไล-เมอร์) ซึ่งก็มาจาก แกรมม่า เอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต แสง(Light) ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ(Radio)นั้นเอง จำแค่ G-XU-LI-MR คำเดียวสั้น ๆ ง่ายจะตาย

31. สำหรับเรื่องฟิสิกส์อะตอม จำพวกการทดลองของทอมสัน การทดลองของมิลิแกน มันจะใช้สูตรของกลศาสตร์และไฟฟ้าเข้ามาประยุกต์กันใช่ไหมล่ะ สูตรหลัก ๆ ที่ใช้ทำเรื่องนี้มันก็มีอยู่ไม่กี่สูตรหรอกนะ แต่จุดยากก็คือเราต้องแปลงสูตรให้เก่ง ๆ ซึ่งสถาบันกวดวิชาบางแห่งก็ชอบให้จำสูตรสำเร็จไปเลย และก็ต้องจำอยู่มากทีเดียว แบบนี้เรามาจำด้วยความเข้าใจจะดีกว่าไหม จำเฉพาะสูตรหลัก ๆ ซึ่งก็ต้องจำไปใช้ในการสอบกลศาสตร์และไฟฟ้าอยู่แล้ว และหัดแปลงสูตรให้เก่ง ๆ เชื่อมโยงแต่ละสูตรให้ได้ ซึ่งการที่คุณจะทำแบบนี้ได้ก็คือ คุณต้องฝึกทำข้อสอบเก่าเรื่องฟิสิกส์อะตอมมาแล้วอย่างโชกโชนนั้นเอง

32.โจทย์ประเภทที่กำหนดสถานการณ์มาแล้วถามความเข้าใจโดยไม่ต้องคำนวณ โจทย์แบบนี้จะมีทุกปีเลยนะ ศึกษาโจทย์ประเภทนี้ให้ดีล่ะ ซึ่งการที่จะทำโจทย์ประเภทนี้ได้มันก็ต้องเข้าใจทฤษฎีนั้นเอง ถ้าหากคุณเข้าใจก็จะทำได้เลย แต่ถ้าไม่เข้าใจทฤษฎี คิดให้ตายก็ทำไม่ได้หรอก ถ้าหากนึกโจทย์ประเภทนี้ไม่ออก ลองดูตัวอย่างนะ

ฟิสิกส์ ตุลา44 ดวงจันทร์โคจรรอบโลกโดยหันด้านเดียวเข้าหาโลกตลอด เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกครบ 1 รอบ จะหมุนรอบจุดศูนย์กลางตัวเองกี่รอบ

ข้อนี้ไม่ต้องใช้ความรู้อะไรเลย ถ้าทำความเข้าใจกับโจทย์ดี ๆ ก็ตอบได้นะ มันเน้นที่ความเข้าใจมากกว่า ลองวาดรูปดูสิ แล้วจะรู้ว่า “ดวงจันทร์หมุนรอบจุดศูนย์กลางตัวเองกี่รอบ”

33. สำหรับวิชาเคมี ในส่วนที่เป็นเนื้อหาบรรยายหรือทฤษฎี เราอาจจะต้องจำเยอะซะหน่อย ถ้าจะให้ดี เราควรจะจำด้วยความเข้าใจนะ เพราะวิทยาศาสตร์มันจะมีเหตุมีผล มีที่มาของทฤษฎีนั้น ๆ ถ้าหากว่าเราเข้าใจที่มาหรือเหตุผลของทฤษฎีนั้น มันก็จะช่วยให้เราจำหลักการของทฤษฎีนั้นได้อย่างแม่นยำ และก็ไม่ลืมกันง่าย ๆ ซะด้วยสิ ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ แล้วไปหัดจำด้วยความเข้าใจเอาเองนะ

- พอลิเมอร์แบบกิ่ง สายพอลิเมอร์มันจะมีกิ่งก้านสาขาใช่ไหมละ ทำให้โมเลกุลมันไม่สามารถจัดเรียงตัวชิดกันได้มากยังไงล่ะ ความหนาแน่นมันก็เลยน้อย จุดเดือดจุดหลอมเหลวก็เลยต่ำกว่าพวกพอลิเมอร์แบบเส้น ถ้าเรารู้เหตุผลที่มาขอทฤษฎีแบบนี้ เราก็จะจำได้แม่นยำว่า “พอลิเมอร์แบบกิ่งมันมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำกว่าแบบเส้น” นั้นเอง พอเจอข้อสอบที่ถามเกี่ยวกับจุดเดือดจุดหลอมเหลวของพอลิเมอร์แบบกิ่งและเส้น เราก็จะตอบได้ด้วยความมั่นใจ
- ระบบคายความร้อน มันไม่ชอบความร้อนมันถึงได้คายออก ถ้าเราเพิ่มอุณหภูมิ สมดุลก็จะย้อนกลับ เพราะมันไม่ชอบความร้อนนี้นา ถ้าเราใช้ความรู้สึกของเราที่สมเหตุสมผลแบบนี้ เมื่อเราเจอข้อสอบที่ถามว่า “ระบบคายความร้อน ถ้าเพิ่มอุณหภูมิ สมดุลจะไปทางไหน” เราก็จะทำข้อสอบข้อนี้ด้วยความมั่นใจเช่นกัน


ตอนที่ 4 : ข้อสอบเก่า...เอาไว้ลับฝีมือ

34. ข้อสอบเก่าเนี่ย ถือเป็นหินลับมีดชั้นดีเลยนะ เพราะมันจะช่วยลับฝีมือของเรา เอาไว้สู้ศึกในสนามสอบไง อยากจะบอกว่าข้อสอบเก่านะ ดีมากกก...ก ทำโจทย์เยอะ ๆ ไปหามาเลยนะ ประเภทที่รวมข้อสอบเอนท์ 10 พ.ศ. อะไรแบบนี้ อาจจะซื้อหรือขอจากรุ่นพี่ก็ได้ แต่ควรจะเลือกซื้อเฉลยที่มันน่าเชื่อถือหน่อยนะ

35. ถึงแม่ว่าข้อสอบจะไม่ออกซ้ำ แต่ที่แน่ ๆ แนวข้อสอบก็ซ้ำ ๆ เดิมนะแหละ ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้วก็ตาม เนื้อหาวิชาก็ยังคงเดิมซะส่วนใหญ่ โดยธรรมชาติเนื้อหาก็คงจะทำให้การออกข้อสอบออกไม่ต่างจากแนวเดิมมากนัก ถ้าเรารู้แนวข้อสอบเป็นอย่างดีก็จะได้เปรียบคนอื่นเขานะ ถึงแม้ว่าข้อสอบจะไม่ตรงกับแนวเดิม แต่เราก็ได้ลับฝีมือไม่ใช่เหรอ

36. ถ้าเมื่อไรที่เราลองทำข้อสอบเก่าแล้วรู้สึกว่า “เอ๊ะ คุ้น ๆ นะ เหมือนปีนั้นเลย” หรือว่า “อ๋อ เดี๋ยวโจทย์แบบนี้ มันจะต้องถามแบบนี้ต่อแน่เลย” นั้นแหละ แสดงว่า เราทำข้อสอบเก่ามาเยอะพอสมควร ทำต่อไปอีกนะ ทำให้เยอะที่สุดนะแหละ ไม่ต้องกำหนดหรอกว่าต้องทำย้อนไปกี่ปี ยิ่งทำมากก็ยิ่งชำนาญมาก

37. ข้อสอบปีไหนที่เคยทำแล้ว ก็ทำซ้ำไปเถอะ ทำเยอะ ๆ แหละ จะได้แม่น ๆ คล่อง ๆ

38. แนะนำให้ทำข้อสอบเก่าจากปีล่า ๆ ก่อน ค่อย ๆ ย้อนไปปีเก่า ๆ ล่ะกันนะ

39. เรื่องไหนที่รู้สึกว่าอ่อน แล้วเราต้องการทำวิชานั้นให้ดี ๆ ไปเลย ก็ควรจะฝึกโจทย์เฉพาะบทที่อ่อนนั้นก่อนนะ แล้วค่อยมาฝึกข้อสอบรวมทุกบท

40. ถ้าเราอ่านวิชาไหนไม่ทันจริง ๆ (ย้ำ!ไม่ทันจริง ๆ) ก็ลุยข้อสอบเก่าไปเลย เพราะเราจะได้แต่เนื้อล้วน ๆ ถ้าอ่านรายละเอียดก็จะได้น้ำติดมาด้วย ถ้าติดข้อไหน ก็ไปเปิดหนังสือประกอบเลย ลุยเจาะวิเคราะห์ทีละข้อไปเลย มันเป็นกลยุทธ์ที่เรียกว่า เสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่

41. ลองจับเวลาทำข้อสอบเก่าดูด้วยก็ดีนะ แรก ๆ อาจจะทำไปเรื่อย ๆ ก่อน ดูสิว่าเราใช้เวลาเยอะขนาดไหน แล้วเริ่มจับเวลาจริง ๆ จัดสภาพแวดล้อมให้เหมือนกับทำข้อสอบเอนท์จริง ๆ อย่าลืมนะว่า ในสนามสอบจริงถูกจำกัดด้วยเวลา ทำได้แต่ทำไม่ทันก็เท่านั้น

42. ถ้าหากทำคะแนนตอนซ้อมได้เยอะ ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจล่ะ เพราะคุณอาจจะเป็น หมูสนามจริง สิงห์สนามซ้อม ก็เป็นได้ ส่วนใหญ่แล้วเอนท์จริง ๆ มักจะได้คะแนนน้อยกว่าตอนซ้อม เพราะสภาพกดดันมันต่างกัน และบางข้อเราอาจจะเจอที่เรียนพิเศษ ข้อสอบที่โรงเรียน หนังสือคู่มือ หรือแม้กระทั่งบทความ99วิธี สวัสดีแอดมิชชั่นก็ตาม ก็เลยทำข้อสอบเก่าตอนที่ซ้อมข้อนั้นได้นะสิ

43. เวลาดูเฉลย อย่าดูแต่เฉพาะข้อถูกนะ เราควรจะดูช้อยส์อื่นด้วยว่าผิดตรงไหน ทำไมถึงผิด โดยเฉพาะข้อสอบวิชาบรรยาย จะได้ฝึกเลี่ยงช้อยส์หลอกไง วิเคราะห์มันทีละช้อยส์ไปเลย
เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ Go down
http://smep.do-goo.com
 
99วิธี สวัสดีแอดมิชชั่น ตอนที่ 1-4
เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ 
เธซเธ™เน‰เธฒ 1 เธˆเธฒเธ 1
 Similar topics
-
» 99?ิธ? ???สด??อด?ิช??? ?อน??? 5-8
» 99?ิธ? ???สด??อด?ิช??? ?อน??? 9
» 99?ิธ? ???สด??อด?ิช??? ?อน??? 10 ??

Permissions in this forum:เธ„เธธเธ“เน„เธกเนˆเธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เธžเธดเธกเธžเนŒเธ•เธญเธš
Science Math Enrichment Program,K.B. :: Admission Tip :: กลเม็ดแอดมิชชั่น-
เน„เธ›เธ—เธตเนˆ: